analyticstracking
หัวข้อ   “ ถอดบทเรียน แชร์ลูกโซ่ คนไทยได้รับบทเรียนอะไร
                  ประชาชนร้อยละ 95.9 รู้จักรูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับการลงทุนน้ำมันทองคำสกุลเงิน
   ต่างประเทศ โดยร้อยละ 47.7 ระบุว่าปัจจัยที่สามารถจูงใจคนให้หลงเชื่อคือการที่คนมีความโลภเป็นจุดอ่อน
                   ทั้งนี้ ร้อยละ 40.7 ระบุว่าจากกรณีแชร์ลูกโซ่สิ่งที่สังคมไทยได้รับบทเรียน คือ มีคนจำนวนมาก
   ตกเป็นเหยื่อเพียงเพราะอยากได้รับผลตอบแทนสูง
                   ส่วนวิธีป้องกันตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อในวงจรธุรกิจแชร์ลูกโซ่คือ ให้ปฏิเสธ
   ทันทีเมื่อมีคนเข้ามาคุยและเชิญชวนร่วมทำธุรกิจประเภทนี้และให้คิดไว้เสมอว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน
เรื่อง “ถอดบทเรียน แชร์ลูกโซ่ คนไทยได้รับบทเรียนอะไร”โดยเก็บข้อมูล
กับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,197 คน พบว่า
 
                 รูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 95.9 รู้จัก
และเคยทราบคือ แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับการลงทุน น้ำมันทองคำสกุลเงิน
ต่างประเทศ
รองลงมาร้อยละ 52.9 คือ แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับธุรกิจขายตรง และ
ร้อยละ 50.0 คือ แชร์ลูกโซ่ออนไลน์
 
                 ส่วนความเห็นต่อปัจจัยที่แชร์ลูกโซ่สามารถจูงใจคนให้หลงเชื่อ
นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.7 ระบุว่า คนมีความโลภเป็นจุดอ่อน
รองลงมาร้อยละ
28.6 ระบุว่าได้รับผลตอบแทนสูงมากกว่าปกติ / สูงกว่าทำธุรกิจอื่นๆ และร้อยละ
10.3 คนอยากหารายได้เพิ่มที่รวดเร็ว/เห็นผลเร็ว
 
                 เมื่อถามว่า “จากกรณีแชร์ลูกโซ่สะท้อนหรือให้บทเรียนอะไร
กับสังคมไทย” ประชาชนร้อยละ 40.7 ระบุว่า มีคนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อ
เพียงเพราะอยากได้รับผลตอบแทนสูง
รองลงมาร้อยละ 21.0 ระบุว่าสังคมขาดการให้ความรู้/ เท่าทัน ต่อกระบวนการ
ลงทุน และร้อยละ 17.1 ระบุว่ารายได้ในปัจจุบันไม่เพียงพอ ต้องการอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
 
                 ส่วนวิธีป้องกันตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อในวงจรธุรกิจแชร์ลูกโซ่ นั้น ประชาชนร้อยละ
39.8 ระบุว่า ให้ปฏิเสธทันทีเมื่อมีคนเข้ามาคุยและเชิญชวนร่วมทำธุรกิจประเภทนี้
รองลงมาร้อยละ 33.5 ระบุว่า
ให้คิดไว้เสมอว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ และร้อยละ 14.9 ระบุว่า ต้องหาข้อมูลให้รอบด้านและปรึกษาคนรอบข้าง ก่อนตัดสินใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. รูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่ประชาชนรู้จักและเคยทราบ (สามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
                 

 
ร้อยละ
แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับการลงทุนเช่นน้ำมันทองคำสกุลเงินต่างประเทศ
95.9
แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับธุรกิจขายตรง
52.9
แชร์ลูกโซ่ออนไลน์
50.0
แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับกองทุน
33.3
 
 
             2. เมื่อถามว่า “อะไร/ปัจจัยที่แชร์ลูกโซ่จูงใจคนให้หลงเชื่อ” พบว่า

 
ร้อยละ
คนมีความโลภเป็นจุดอ่อน
47.7
ได้รับผลตอบแทนสูงมากกว่าปกติ/ สูงกว่าทำธุรกิจอื่นๆ
28.6
คนอยากหารายได้เพิ่มที่รวดเร็ว/ เห็นผลเร็ว
10.3
การถูกชักชวนจากคนสนิท/ คนไว้ใจ/ ไว้ใจคนง่าย
6.3
รู้ไม่ทันขบวนการจัดฉากสร้างภาพและอาศัยสื่อโซเชียลให้ดูน่าเชื่อถือ
5.1
มีการจูงใจว่าเป็นการร่วมลงทุน
2.0
 
 
             3.จากกรณีแชร์ลูกโซ่สะท้อนหรือให้บทเรียนอะไรกับสังคมไทย

 
ร้อยละ
มีคนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อเพียงเพราะอยากได้รับผลตอบแทนสูง
40.7
สังคมขาดการให้ความรู้/ เท่าทัน ต่อกระบวนการลงทุน
21.0
รายได้ในปัจจุบันไม่เพียงพอ ต้องการอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
17.1
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสื่อโซเชียลทำให้คนหลงเชื่อในเวลาอันสั้น
8.5
คนไทยลืมง่ายและยังไม่เห็นบทลงโทษคดีเหล่านี้รุนแรงพอ
7.6
ทำให้จำนวนคนเป็นหนี้มากขึ้นเพราะกู้เงินมาลงทุน ส่งผลให้เงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศหายไป
5.1
 
 
             4. วิธีป้องกันตัวเองเพื่อให้ตนเองปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อในวงจรธุรกิจแชร์ลูกโซ่
                 

 
ร้อยละ
ปฏิเสธทันทีเมื่อมีคนเข้ามาคุยและเชิญชวนร่วมทำธุรกิจประเภทนี้
39.8
คิดไว้เสมอว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
33.5
ต้องหาข้อมูลให้รอบด้านและปรึกษาคนรอบข้าง
14.9
คิดเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงถ้าไม่พร้อมอย่าเสี่ยง
11.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับกรณีแชร์ลูกโซ่รูปแบบต่างๆในสังคมไทย บทเรียนที่
สังคมไทยได้รับ ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจ ตลอดจนวิธีป้องกันไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 19 - 20 พฤศจิกายน 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 พฤศจิกายน 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
589
49.2
             หญิง
608
50.8
รวม
1,197
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
108
8.9
             31 – 40 ปี
209
17.5
             41 – 50 ปี
310
25.9
             51 – 60 ปี
324
27.1
             61 ปีขึ้นไป
246
20.6
รวม
1,197
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
698
58.3
             ปริญญาตรี
401
33.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
98
8.2
รวม
1,197
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
151
12.6
             ลูกจ้างเอกชน
303
25.3
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
397
33.2
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
60
5.0
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
258
21.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
15
1.3
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
12
1.0
รวม
1,197
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776